CeeFanClub.com: ไอซีทีลุยบรอดแบนด์ ลงทุนโครงข่ายร่วม ช่วยคนไทยเข้าถึง - CeeFanClub.com

Jump to content

Page 1 of 1
  • You cannot start a new topic
  • You cannot reply to this topic

ไอซีทีลุยบรอดแบนด์ ลงทุนโครงข่ายร่วม ช่วยคนไทยเข้าถึง

#1 User is offline   hs9ylb 

  • Advanced Member
  • Icon
  • Group: Members
  • Posts: 250
  • Joined: 28-September 10
  • LocationSongkhla , Thailand

Posted 22 January 2011 - 05:35 PM

Posted Image

ไอซีที ถกนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ อิงแผนแคนาดาไม่หวั่นปัญหาสัมปทาน ตั้งเป้าปี 56 เข้าถึงทุกอำเภอก่อนเจาะทุกตำบลในปี 58 เผยหากไทยใช้บรอดแบนด์มากกว่า 1 แสนคน จีดีพีเพิ่มขึ้น 1%คิดเป็นมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท โอดไทยเข้าถึงบรอดแบนด์ไม่ถึง 5%… เมื่อวันที่ 21 ม.ค. นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ว่า การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการประชุมหารือ เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และผลักดันแผนยุทธศาสตร์บรอดแบนด์แห่งชาติให้เกิดขึ้น หลังจากนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2553 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการริเริ่มจากกระทรวงไอซีที และมีอีก 4 กระทรวง นำร่อง ได้แก่ กระทรวงการคลังกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ โดยมีกรณีศึกษาเรื่อง อี-เอดดูเคชั่น–เฮลล์-กัฟเวิลเมนท์ โดยนายแอนดรู ทอมป์สัน อดีตรัฐมนตรีประเทศแคนนาดา มาให้ความรู้เรื่องดังกล่าวด้วย

ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวต่อว่า หากเปรียบเทียบกับประเทศแคนาดาแล้ว ประเทศไทยน่าจะดำเนินการบรอดแบนด์ได้เร็วกว่า เนื่องจากประชากรแคนาดามีจำนวนน้อยกว่า และการลงทุนสูงกว่าประเทศไทย อีกทั้ง ระบบการปกครองที่ต้องอาศัยงบประมาณจากภาครัฐด้วย นอกจากนี้ ยังมองว่า ปัญหาสัมปทานในประเทศไทย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และต้องให้ส่วนที่รับผิดชอบการแก้สัมปทานดำเนินการต่อไป พร้อมกับส่วนที่ดำเนินการบรอดแบนด์ เพราะถ้าแก้ไขเสร็จก็จะมาต่อยอดกับโครงการบรอดแบนด์ได้

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม

ขณะเดียวกัน ก็เป็นการบูรณาการให้ใช้งานโครงข่ายร่วมกัน จากเดิมที่ทั้งภาครัฐ และบริษัทเอกชนเคยแยกกันดำเนินการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยแผนยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จมี 3 ประเด็น คือ 1.ข้อตกลงสำหรับแผนโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ฐานรากของบรอดแบนด์ซึ่งแต่ละกระทรวงสามารถนำไปใช้เพื่อให้บรรลุนโยบาย 2.โครงการประเภท ควิกวิน (quick-win) ของแต่ละกระทรวง รวมถึงงบประมาณ และเวลาที่ชัดเจน โดยโครงการเหล่านี้จะช่วยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของบรอดแบนด์แห่งชาติ และ3.การจัดตั้งทีมงานระหว่างกระทรวงเพื่อศึกษาวิธีการที่จะใช้บรอดแบนด์เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของบรัฐบาลในการให้บริการ และติดต่อกับประชาชน เพื่อความสงบสุขและความเจริญของประเทศในอนาคต

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 (ปี 2552-2556) กระทรวงได้เร่งดำเนินการให้เข้าถึงแหล่งชุมชนในต่างจังหวัด โดยเฉพาะสถานศึกษา สถานีอนามัย และภาคการเกษตร โดยตั้งเป้าว่า ปี 2556 หรือ อีก 2 ข้างหน้า จะเข้าถึงระดับอำเภอ และปี 2558 หรือ อีก 4 ปี ข้างหน้า จะเข้าถึงระดับตำบล ทั้งด้านการศึกษาและสาธารณสุข นอกจากนี้ ยังวางแผนกระจายลงสู่สถานีอนามัย จำนวน 1.5 หมื่นแห่ง ใช้งบประมาณ 8 พันล้านบาท โดย คาดการณ์ว่า ราคาไม่น่าจะสูงหรือต่ำกว่า โครงการถนนไร้สาย ของกระทรวงไอซีที ที่ความเร็ว 2 เมกะบิต/วินาที ราคา 199 บาท

นางจีราวรรณ กล่าวอีกว่า เมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ ได้ศึกษางานวิจัย ในประเทศกำลังพัฒนา พบว่า หากบรอดแบนด์เพิ่มขึ้น 10% จะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี ของกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นเกือบ 1% และผลผลิตเพิ่มขึ้น 0.8% หมายความว่า หากมีจำนวนสมาชิกบรอดแบนด์รายใหม่เกิดขึ้นในประเทศไทยมากกว่า 1 แสนคน จะทำให้ จีดีพี ของประเทศเพิ่มขึ้น 1%หรือคิดเป็นมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ ปัจจุบันประเทศไทยเข้าถึงบรอดแบนด์ยังไม่ถึง 5% ของประชากรทั้งประเทศ

นายแอนดรู ทอมป์สัน

ด้าน นายแอนดรู ทอมป์สัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงเทคโนโลยี รัฐซัสแอคตเอชวัน ประเทศแคนาดา กล่าวว่า การขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ ในรัฐซัสแอคตเอชวัน ตั้งแต่ ปี 2541 – 2547 สามารถทำได้ครอบคลุม 90% จากจำนวนประชากรในพื้นที่ โดยที่ผ่านมา มีการลงทุนค่อนข้างสูงสำหรับการขยายบริการดังกล่าว ใช้งบประมาณ 217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากรัฐซัสแอคตเอชวันมีปัญหาพื้นที่ใหญ่ ประประชากรกระจายนอกเมืองถึง 60% มีอัตราความหนาแน่เพียง 1.6 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยล่าสุดเมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลและเอกชนในรัฐนี้ได้ประกาศลงทุนเพิ่มอีก 126 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ทั้งนี้ มองว่าการขยายบรอดแบนด์นั้น เอกชนมีส่วนสำคัญในการเข้ามาช่วยลงทุนโครงข่าย ซึ่งจะทำให้ภาครัฐใช้งบประมาณลงทุนเรื่องดังกล่าวน้อยลง โดยภาครัฐต้องกระตุ้นให้ประชากรเกิดการใช้งานให้มากขึ้น เพื่อทำให้เอกชน เห็นช่องทางในการเข้ามาทำตลาด และเกิดการลงทุนของภาคเอกชนต่อไป

“รัฐซัสแอคตเอชวันถ้าเมืองใดมีประชากรมมากกว่า 800 คน เอกชนจะเข้าไปช่วยลงทุน โดยการลงทุนในช่วง 7 ปี ของรัฐในระยะแรกใช้งบลงทุนสร้างสถานีฐานสำหรับบรอดแบนด์ที่ใช้สาย 71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ครอบคลุม 75% ของจำนวนประชากร ต่อมาลงทุนไวร์เลส หรือ อินเทอร์เน็ตไร้สาย 55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าถึงชุมชนได้ 86% จากจำนวนประชากร และได้ลงทุน 91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปิดให้บริการไวไฟ หรือ อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ครอบคลุม 90% จำนวนประชากร” อดีต รมว.กระทรวงการคลัง และกระทรวงเทคโนโลยี รัฐซัสแอคตเอชวัน ประเทศแคนาดา กล่าว

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์


Posted Image Posted Image

Posted Image
0

#2 User is offline   Admin 

  • Administrator
  • Icon
  • Group: Administrators
  • Posts: 623
  • Joined: 14-August 10

Posted 24 January 2011 - 07:25 PM

ขอให้มาเร็วๆละกัน :Emoticon-094_panda:
0

Page 1 of 1
  • You cannot start a new topic
  • You cannot reply to this topic

1 User(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users