CeeFanClub.com: "สุขภาพกับไอที" - CeeFanClub.com

Jump to content

Page 1 of 1
  • You cannot start a new topic
  • You cannot reply to this topic

"สุขภาพกับไอที" Rate Topic: -----

#1 User is offline   hs9ylb 

  • Advanced Member
  • Icon
  • Group: Members
  • Posts: 250
  • Joined: 28-September 10
  • LocationSongkhla , Thailand

Posted 09 July 2011 - 10:11 PM

Posted Image

บ่อยครั้งที่เราได้ยินถึงข้อถกเถียงทางการแพทย์ว่าคลื่นสัญญาณต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องนั้นมีผลกระทบต่อร่างกายของเราหรือไม่อย่างไร จนทำให้เกิดการวัดค่าการแผ่รังสีของสัญญาณในแต่ละรุ่นว่าเกินค่ามาตรฐานหรือไม่ แต่นั่นก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าการวัดค่านี้จะมีผลต่อร่างกายโดยตรง และไม่ได้ทำให้ข่าวที่ส่งผลลบต่ออุปกรณ์ดังกล่าวจะหมดไป และปัจจุบันในประเทศไทยเองก็เป็นที่ทราบกันดีว่าการถือหรือจับโทรศัพท์มือถือในระหว่างขับรถนั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ซึ่งใครก็ตามแต่ที่ฝ่าฝืนจะได้รับโทษตามกฎหมายทันที และนี่เองที่ทำให้เกิดกระแสของการซื้อหาของอุปกรณ์ประเภทแฮนด์ฟรีหรืออุปกรณ์ที่เราใช้สำหรับการโทรศัพท์โดยที่เราไม่ต้องจับโทรศัพท์มือถือนั่นเอง และในขณะที่หลายๆ ท่านเริ่มให้ความสนใจต่อการเคารพกฎหมาย เราลองมาดูกันว่าเจ้าอุปกรณ์ต่างๆ นั้นมีอะไรบ้างที่เป็นผลกระทบต่อเราๆ ท่านๆ ที่ใช้อุปกรณ์นี้ ซึ่งก็ไม่แน่ว่าการบังคับใช้ตามกฎหมายครั้งนี้ จะกลายมาเป็นโทษต่อร่างกายเราเองโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ว่าได้

หูฟังบลูทูธ

ในหลายครั้งที่เรามองเห็นคนเดินไปพูดไป โดยไม่เห็นมือของเค้าจับโทรศัพท์แต่อย่างใด พลอยทำให้เราคิดไปว่าเค้าคนนั้นสติไม่ดีหรือเปล่า แต่นั่นก็เป็นเพียงยุคแรกเริ่มของการเริ่มใช้หูฟังแบบบลูทูธ ซึ่งเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์และอปกรณหูฟังนั่นเอง ซึ่งนั่นก็กลายมาเป็นที่ถกเถียงกันว่าแท้ที่จริงแล้ว การเสียบอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถีวิทยุเป็นเวลานานๆ จะเป็นอัตรายต่อคนๆ นั้นหรือไม่? แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ว่าการใช้งานดังกล่าวจะเป็นหรือไม่เป็นอันตรายหรือไม่ อย่างใด แต่กระนั้นก็มีหน่วยงานหนึ่งที่เป็นการรวมตัวกันของผู้ผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวออกมาแสดงความเป็นห่วงเรื่องดังกล่าว โดยออกมากำหนดมาตรฐานการแผ่สัญญาณของคลื่นวิทยุดังกล่าวให้ม่เกิน 1.6 วัตต์ต่อกิโลกรัม หรือต่ำกว่านี้ โดยหน่วยงานดังกล่าวนี้มีชื่อว่า Federation of Communication (FCC) โดยการออกมาตรการดังกล่าวก็เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่ใช้อุปกรณ์ชนิดที่แผ่สัญญาณคลื่นวิทยุได้นั่นเอง และถึงแม้ว่าจะไม่มีสถาบันใดออกมารับรองว่าจะเป็นหรือไม่เป็นอันตราย ก็ยังมีรายงานทางการแพทย์ที่กล่าวได้ว่าการเกิดโรคบางชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องมาจากการใช้อุปกรณ์ที่มีคลื่นสัญญาณวิทยุอยู่ดี ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในบางคนอาจจะไม่เกิดผลกระทบใดๆ เลยก็เป็นได้ ในขณะที่บางท่านเพียงแค่เสียบหูฟังบลูทูธไว้เป็นเวลานานก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ซึ่งนั่นก็เป็นเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น โดยต้องยอมรับว่าคลื่นที่ใช้กันอยูนั้นก็เป็นลักษณะสัญญาณไมโครเวฟเช่นเดียวกับที่เราใช้อุ่นอาหารนั่นเอง เพียงแต่ใช้ในปริมาณวัตต์ที่น้อยมากๆ จนแทบไม่รู้สึก และนี่ก็คือความรู้คร่าวๆ ที่เราควรใส่ใจกันไว้บ้างนะครับ แต่ใช่ว่าจะต้องกลัวอันตรายจนโยนทิ้งอุปกรณ์ดังกล่าวนะครับ เพราะว่าการใช้ดังกล่าวนั้นเป็นการใช้แบบเวลานานในการสนทนาแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าไม่จำเป็นในการสนทนาหรือยังไม่จำเป็นต้องเสียบหูไว้ ก็ให้หาสายคล้องคอมาห้อยได้ ซึ่งเมื่อมีสายเข้าก็ค่อยนำมาเสียบหูเพียงเท่านี้ก็น่าจะลดความเสี่ยงลงได้นะคะ

หูฟังแบบเสียบสาย(สมอลทอร์ค)

ความจริงแล้วการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้น่าจะมีราคาถูกกว่าการใช้หูฟังแบบบลูทูธหลายเท่า แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ ความสะดวกในการใช้งานก็น้อยกว่าเพราะอาจจะเกะกะในบางครั้งด้วยสายที่ระโยงระยางต่อมาจากเครื่องโทรศัพท์มือถือ แต่กระนั้นการเป็นห่วงเรื่องสุขภาพที่มีต่อการเกิดขึ้นของอุปกรณ์ชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้วก็น่าจะมาจากระดับเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง เพราะโดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ชนิดนี้จะได้รับการออกแบบมาให้มีลำโพงสองข้อง เพื่อคุณภาพเสียงที่ควบคุมได้ โดยความสามารถของอุปกรณ์ดังกล่าวจะโชว์ความโดดเด่นกันที่คุณภาพของเสียง ดังที่เกิดขึ้นในต่างประเทศในกรณีที่มีการฟ้องว่าหูฟังดังกล่าวมีระดับของเสียงที่ดังจนเกินไปจนเกิดผลร้ายต่อประสาทหู แต่ก็ไม่มีการแจ้งเตือนให้ผู้บริโภครับรู้แต่อย่างใด ผู้ผลิตแต่ละรายจึงเกิดการควบคุมระดับเสียงสูงสุดของชุดหูฟังอย่างจริงจัง แต่นั่นก็เป็นเพียงตัวอย่างที่บางท่านอาจจะคิดว่าไกลตัวเป็นอย่างมาก ผมก็อยากให้ลองทดสอบดูว่าเมื่อเสียบหูฟังชนิดนี้ทั้งสองข้างแล้วทำการเปิดเสียงให้สุด ดูว่าท่านจะสามารถเดินด้วยเท้าได้ตรงทางหรือไม่ แน่นอนว่าประสาทหูเมื่อได้รับการสั่นสะเทือนจากระดับเสียงที่มากเกินไปก็สามารถทำให้การทรงตัวของคนเกิดความผิดพลาดได้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทดลองจริงเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อท่านได้ เท่านั้นยังไม่พอการฟังเสียงดังนานๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะระดับความดังที่มากเกินพอดีจะทำให้เกิดความบอบช้ำของแก้วหูจนอาจทำให้หูหนวกได้ นี่ก็เป็นอีกปัญหาที่น่าเป็นห่วง และแน่นอนว่าลำโพงโดยทั่วไปใช้แม่เหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งระดับการแผ่รังสีสนามแม่เหล็กนั้นย่มมผลต่อระดับความดังของหูฟังแน่นอน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยืนยันว่าแท้ที่จริงการเสียบอุปกรณ์หูฟังนี้ไว้ที่หูตลอดจะเกิดผลเสียหรือไม่ อย่างไร แต่ในกรณีที่เมื่อเสียบแล้วเกิดอาการปวดหัวก็ควรระงับการใช้งาน แล้วไปปรึกษาแพทย์ก็น่าจะดีกว่านะคะ

คาร์ สปีกเกอร์

อุปกรณ์ประเภทนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทแต่ที่จะพูดถึงนั่นก็คือ บลูทูธ สปีกเกอร์ ชนิดที่สามารถเสียบเข้ากับบังแดดรถยนต์ได้ หรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งมาภายในรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ในรถยนต์ระดับหรู โดยอุปกรณ์ประเภทนี้การใช้งานจะอยู่ห่างจากตัวพอสมควร ซึ่งการเชื่อมต่อของระบบจะเริ่มขึ้นเมื่อมือถือนั้นๆ ที่ได้รับการตั้งค่าไว้แล้วเข้ามาในรัศมีของบลูทูธ และที่สำคัญเมื่อไม่ต้องนำมาไว้ใกล้ร่างกาย การเกิดผลกระทบที่ยังไม่ได้รับการยืนยันก็จะไม่มีทางเกิดขึ้น แต่กระนั้นการใช้งานจริงก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น อันนี้คงต้องศึกษาก่อนการใช้งานในแต่ละรุ่นนะคะ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นใหม่การใช้งานยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ซึ่งก็ทำให้ผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานยังไม่พบเห็นมากนัก แต่ที่น่าจะเกิดก็คือ ความไม่เป็นส่วนตัวนี่เอง อันนี้ก็คงต้องเลือกเอานะคะ ระหว่างเรื่องส่วนตัวกับสุขภาพ

นับว่าเป็นเรื่องดีที่เมืองไทยเริ่มออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของประชากรในประเทศ และมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง ซึงก็น่าจะเป็นผลดีต่อเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวเอง ก็ควรที่จะเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับตัวท่านเอง ซึ่งก็อาจจะแบ่งคำว่าเหมาะสมได้หลายแบบแตต่างกันออกไป เช่นเหมาะสมตามเงินในกระเป๋าสตางค์ หรือเหมาะสมต่อการใช้งาน เป็นต้น ส่วนเรื่องสุขภาพดังที่กล่าวมานั้น ก็ต้องขอออกตัวก่อนว่าแม้ว่าอาการต่างๆจ ากการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงในบางท่าน แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันทางการแพทย์แต่อย่างใดว่าแท้ที่จริงแล้วอุปกรณ์เหล่านี้เป็นต้นเหตุของโรคนั้นๆ ก็อย่างวิตกกังวลโดยใช่เหตุเพียงแต่ให้เราสังเกตตัวของเราเองในการใช้งานอุปกรณ์แต่ละครั้ง เพื่อป้องกันไว้ดีกว่าจะต้องมาแก้กันทีหลัง เพราะส่วนตัวแล้วดิฉันเชื่อว่าการที่เรายังไม่ค้นพบไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นจะไม่มีอยู่จริงนะคะ ก็ขอฝากเรื่องนี้ไว้ด้วยค่ะ

ขอบคุณที่มาข้อมูล : http://vachirahut.wordpress.com
Posted Image
0

#2 User is offline   Admin 

  • Administrator
  • Icon
  • Group: Administrators
  • Posts: 623
  • Joined: 14-August 10

Posted 11 July 2011 - 09:18 PM

ขอบคุณครับ :Emoticon-095_panda:
0

Page 1 of 1
  • You cannot start a new topic
  • You cannot reply to this topic

1 User(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users