CeeFanClub.com: เปิดใจพิธีกรสาว “ซี-ฉัตรปวีณ์” ดาวประดับวงการไอที - CeeFanClub.com

Jump to content

Page 1 of 1
  • You cannot start a new topic
  • You cannot reply to this topic

เปิดใจพิธีกรสาว “ซี-ฉัตรปวีณ์” ดาวประดับวงการไอที ไทยรัฐออนไลน์ 11 มกราคม 2553

#1 User is offline   Zcrubb 

  • Advanced Member
  • Icon
  • Group: Moderators
  • Posts: 171
  • Joined: 15-September 10

Posted 27 September 2010 - 11:22 AM

เปิดใจพิธีกรสาว “ซี-ฉัตรปวีณ์” ดาวประดับวงการไอที

Posted Image


มาทำความรู้จักกับสาวเก่งมากความสามารถ “น้องซี” ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ หลังคว้ามงกุฎมิสทวิตเตอร์หมาดๆ...

ในบ้านเราหากมองหาพิธีกรสาวในแวดวงไอทีนั้นคงยากพอสมควร แต่ปัจจุบันนี้ มีคร่ำหวอดอยู่ในวงการไอที ด้วยใบหน้าและแววตาของสดใสและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ เพียงแค่คิดว่าไม่ได้เป็นคนเก่ง คนฉลาด และรู้ทุกเรื่อง เธอไม่เคยปิดกั้นตัวเองจากวงการไอที และเทคโนโลยี

จากนิเทศศาสตร์บัณฑิต ที่มีความคิด และเขียนเชิงสร้างสรรค์ ผลิตผลงาน และทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นกูรูสาวไอทีคนหนึ่ง จนได้รับฉายาให้ขึ้นแท่นเป็นเจ้าหญิงแห่งวงการไอที กับมงกุฎมิสทวิตเตอร์ “น้องซี” ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ จะมีมุมมองด้านไอทีอย่างไร มาติดตามกันได้ บัดนี้...

It Digest : จุดเริ่มต้นของการก้าวเข้ามาในวงการไอที

ฉัตรปวีณ์ : ตั้งแต่แรกรู้สึกว่าเป็นเรื่องของโชค เพราะช่วงเรียนปี 4 เคยทำรายการมาค่อนข้างมากกว่า 20 รายการ ไม่ว่าจะเป็นเกมส์โชว์ วาไรตี้ ทีนทอล์ก ขณะเดียวกันช่วงปี 4 บังเอิญมีรุ่นพี่บอกให้ไปออดิชั่นรายการเกี่ยวกับเทคโนโลยีดู เพราะกำลังหาพิธีกรที่สนใจเรื่องพวกนี้ และพูดภาษาอังกฤษได้ด้วย จึงเห็นว่าน่าสนใจเลยลองไปออดิชั่น หลังจากนั้นได้ไปทำรายการ เทกซ์ ทเวนตี้โฟร์ (Text 24) หนึ่งในรายการของพี่จอห์น นูโว เป็นรายการแรกเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ได้ทำ ช่วงที่ทำชื่อว่า ว้าว แก็ตเจ็ท เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์แปลกๆ รวมไปถึงนวัตกรรม หุ่นยนต์ นาฬิกาปลุกวิ่งได้ หรือของที่รู้สึกว่ามีอยู่บนโลกด้วย เพราะแต่ก่อนจะรู้สึกว่าเทคโนโลยีเป็นแค่นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล โน้ตบุ๊ค พอได้ไปทำช่วงดังกล่าวแล้ว ต้องบอกว่าเปลี่ยนโลกทัศน์ ทำให้รู้สึกว่าโลกนี้สุดยอดจริงๆ เรื่องของเทคโนโลยีเป็นอะไรที่มีเสน่ห์มาก

It Digest : หลังจากก้าวเข้ามาแล้วทำอย่างไรบ้าง

ฉัตรปวีณ์ : รู้สึกอยากทำให้คนที่ไม่ได้มาจากการขาดเทคโนโลยีเหมือนตน ที่มีจำนวนมากกว่าคนที่อยู๋ในเมืองเทคโนโลยีได้รู้สึกเหมือนกันว่าเจ๋งและเริ่มเข้ามาใกล้ตัวเราเข้าทุกทีแล้ว ก็เลยต่อยอดทำเว็บไซต์เดลี่พีเพิลดอททรีดี เป็นบล็อคติดอันดับของ เวิดเซฟ ก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น และเริ่มเป็นที่เชื่อถือของมุมเทคโนโลยีมากขึ้น จากนั้น ก็จะเริ่มขยายอาณานิคมไปรายการเทคทูเดย์ รายการเคเบิ้ลซิตี้ทางช่อง 5 และรายการ 168 ชั่วโมงทางช่อง 3 ที่เพิ่งจะเริ่มต้นปี 2552 นี้เองมีการปรับรูปแบบ ก็เลยขอทำเป็นแบบไอที ในช่วง ซีทอล์ก โดยมีไอเดียมากมาย ช่วงเดือน เม.ย.2552 ที่ผ่านมาก็เปิดเว็บไซต์ ซีมีอะเก็นดอทคอม (www.ceemeagain.com) ขึ้นมา

Posted Image

It Digest : ความฝันของซีคืออะไร

ฉัตรปวีณ์ : ความฝันอย่างหนึ่งที่อยากเป็น คือ เจ้าของรายการทีวี และผลิตรายการทีวีที่เป็นแนวคิดแบบใหม่ แปลกๆ ขึ้นมา แต่ว่าต้องบอกว่าในบ้านเราก็ไม่ค่อยได้จำกัดในหลายอย่างอยู่ ก็รู้สึกว่าออนไลน์นี้แหละเป็นสื่อที่เปิดกว้างสำหรับใครที่มีของสามารถปล่อยของได้ และเป็นดวงอีกอย่างหนึ่งที่ได้มาเจอกับพี่ที่เป็นโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถพอมาร่วมงานกันแล้วทางทีมงานก็คอยดูแลจนกลายเป็นทีมงานที่ลงตัวมากเลย

It Digest : ตอนนี้มีทั้งหมดกี่รายการ

ฉัตรปวีณ์ : รายการหลักก็จะมีอยู่ 7 รายการ แต่ว่าปี 2553 จะมีรายการเพิ่มขึ้น รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10 รายการ เพราะโดยส่วนตัวคิดถึงรายการใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา มีไอเดียรายการใหม่ๆ แปลกๆ ได้ตลอดเวลา ชอบทางนี้ และรู้สึกว่ามันใช่ตัวเราแล้วหละ เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เพื่อเป็นพิธีกร และเป็นคนที่คิดรายการผลิตรายการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผ่านมาแล้ว และยังทำไม่ได้คือความสม่ำเสมอในการอัพเดทอันนี้เป็นสิ่งที่เจ็บมาก และบอกตัวเองว่าปี 2553 ต้องดีกว่านี้

It Digest : กลุ่มเป้าหมายของรายการไอที

ฉัตรปวีณ์ : มองว่าทุกคน ทั้งคนที่เข้าใจและไม่เข้าใจเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือคนแก่ เด็กอายุประมาณ 6-7 ปีขึ้นไป บางคนก็ไม่ได้รู้สึกอะไรกับเทคโนโลยีมากมายเพียงแค่ใช้เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมีอะไรอีกมากที่ยังไม่รู้ จึงปลูกฝังให้มีวิจารณญาณ อันนี้คือสิ่งที่อยากให้กลุ่มเด็ก ส่วนคนที่มีอายุแล้วอาจจะรู้สึกว่าเด็กๆ พูดอะไรกัน มันก็จะครอบคลุมทุกกลุ่มเลย เพราะรายการที่ซีผลิตนำเรื่องที่มีสาระมาเล่าด้วยเรื่องที่สนุกสนาน เพราะฉะนั้นถึงจะไม่ใช่กลุ่มเด็กหรือคนแก่ เป็นกลุ่มระหว่างวัยกลางคนก็จะรู้สึกสนุกกับสิ่งที่นำเสนอไปด้วย ที่สำคัญคือ เชื่อว่าคนที่เข้ามาดูรายการต้องการความรู้และความบันเทิง มากกว่าที่จะเข้ามาดูความสวยงามของพิธีกร เพราะสามารถดูรายการอื่นที่มีพิธีกรสวยๆ ได้ ส่วนรายการที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ในปี 2553 เกี่ยวกับเรื่องไอทีทั้งหมดเลย

It Digest : รายการของซีคิดเป็นไอทีกี่เปอร์เซ็นต์

ฉัตรปวีณ์ : ประมาณ 70-80% เพราะรู้สึกว่าเป็นรายการที่สนุก มีเรื่องให้พูดอีกมากมาย แต่โดยส่วนตัวไม่เก่งเพราะจริงๆ แล้ว จบนิเทศศาสตร์มา เห็นทุกเรื่องที่มีสาระแล้วทำให้สนุกได้ ซีก็มาทำ เช่น รายการสารคดี เป็นอันดับ 1 ในซีเนียอะแกนเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง เพราะเป็นสารคดีที่ตั้งชื่อว่า สา-ระ-กะ-ตี เป็นการเอาเรื่องของสารคดีมาเล่าแต่เล่าในมุมแปลกๆ จนกลายเป็นรายการที่คนดูมากที่สุด แต่ไม่เกี่ยวกับไอทีเลย จึงคิดว่าน่าจะลองทำอีกหลายๆ อย่างไม่จำกัดแค่ไอทีแต่ว่าหลักๆ ชอบไอทีซีและก็จะไม่ทิ้งไอทีแน่นอน

It Digest : หาพิธีกรไอทีที่เป็นผู้หญิงยาก

ฉัตรปวีณ์ : ใช่ๆ ก็ต้องบอกว่าท้าทายพอสมควร เพราะตอนแรกที่เข้ามาถ้าพูดถึงผู้หญิงกับเทคโนโลยีเป็นเรื่องของหนักๆ คนจะมองเป็นภาพลักษณ์ของพริตตี้ ของพวกนี้มาด้วยกัน โดยส่วนตัวก็รู้สึกว่ามีคนที่ลงทุนไปพอสมควรตั้งแต่ต้น ก็ไม่ได้บอกว่าเราเก่ง ฉลาด ฉันเป็นกูรู ฉันต้องรู้ทุกเรื่อง แต่ว่าเป็นคนไม่ปิดกั้นและพร้อมเรียนรู้วงการไอที ถามว่าวันนี้ต้องฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ ทำไม ตอนนี้ก็ตอบไม่ได้หรอก วันรุ่งขึ้นก็ต้องไปหาคำตอบมา คือคนมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่อยาก ทำแล้วรักที่จะทำแล้วก็ไปหาความรู้ในเรื่องนั้นได้เรื่อยๆ คือความรู้สึกส่วนตัว อาจจะไม่ใช่ว่าเป็นผู้หญิง เป็นส่วนหนึ่งทำให้รายการที่ดูยากๆ อย่างเช่น เรื่องของเทคโนโลยีดูง่ายขึ้นด้วยความเป็นผู้หญิงจึงดูเบาลงอยู่แล้ว จริงๆ มันมาจากส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มาจากสายไอที แล้วอยากมาทำไอทีทำให้คนเข้าใจมากขึ้น

Posted Image

It Digest : คำพูดที่จะทำให้รู้สึกว่าไอทีเป็นเรื่องง่าย

ฉัตรปวีณ์ : รู้สึกว่าจะเปรียบเทียบกับอะไรสักอย่างหนึ่งตลอด เช่น ต้องอธิบายว่าเทคโนโลยีนี้คืออะไร เพราะบางคนพยายามให้คำนิยามของไอทีแตกต่างกันไป อย่าง 3จี คือระบบการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ ทุกคนหาในกูเกิ้ลได้อยู่แล้ว แต่อยากรู้ว่า 3จีดีอย่างไร หรือแค่บอกว่า 3จี คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถเข้าใจได้เลยว่า สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ทุกที่บนโทรศัพท์มือถือ คือรู้สึกว่ามีวิธีอะไรที่มากกว่านี้ และพยายามที่จะหาคำตอบจากสิ่งนี้ ซึ่งก็ไม่ได้ลำบากเกินไปที่จะศึกษาเพิ่ม ประเด็น คือทำอย่างไรให้คนเข้าใจ เพราะเป็นพิธีกรไม่ต้องพยายามให้ตัวเองดูดี แต่พยายามทำให้คนเข้าใจในสิ่งที่พูดและได้อะไรน่าจะดีกว่า

It Digest : ให้เปรียบเทียบตัวเองว่าเป็นเทคโนโลยีอะไรในโลกไอที

ฉัตรปวีณ์ : ไม่เคยมีใครถามคำถามนี้เลย แต่คิดว่าตัวเองน่าจะเป็นไอโฟน เพราะว่า ไอโฟนโดนล้อเลียนเยอะว่าทำอะไรก็ได้ โดยส่วนตัวก็เป็นคนที่ค่อนข้างเปิดกว้างในทุกๆ เรื่อง และก็เป็นคนชอบเรียนรู้ความแปลกใหม่ และเชื่อว่าโปรแกรมในไอโฟนเหมือนโหลดไว้เยอะ มีแอพลิเคชั่นมาก วันหนึ่งถ้าอยากจะใช้ก็ใช้ได้ เหมือนที่แม่เคยป้อนโปรแกรมแอพลิเคชั่นต่างๆ ให้ไปเรียนดนตรี เรียนเทควันโด จนวันนี้รู้สึกดีใจที่เรียนไว้เยอะ เหมือนกับไอโฟนที่เริ่มใช้งานได้มากๆ และก็ไม่หยุด อีกทั้งสามารถเพิ่มเติมอะไรใหม่ๆ เข้าไปในชีวิตได้ตลอดเวลา คือไม่ได้เรียนรู้อะไรยากมาก ไม่ได้รู้สึกว่าความไฮเทคบางตัวมีมาก แต่ว่ารู้สึกได้ถึงการเข้าถึงมันมากกว่า ถ้าเทียบกับตัวก็อยากให้คนมองว่าเป็นคนที่เข้าถึงง่ายเข้าใจง่ายในวิธีพูด และก็เปิดรับสิ่งดีๆ สิ่งใหม่ๆ ตามความสนใจส่วนตัว

It Digest : แต่ละวันใช้เวลาอยู่กับไอทีประมาณเท่าไหร่

ฉัตรปวีณ์ : ตลอดเวลาค่ะ ช่วงก่อน 50% บางวันเกิน 70% ช่วงนี้ 60-70% ต้องเช็คความคืบหน้าอะไรตลอดเวลาจากมือถือ มีมือถือ 3 เครื่อง 1. ไอโฟน ใช้งานทั่วไป 2. บีบี โทรเข้าโทรออก และ 3. ซัมซุง โอเนียได้มาฟรีด้วย บางทีก็ใช้ถ่ายภาพบ้าง เพราะว่าในซัมซุงมีโปรแกรมตัดต่อคลิปอยู่ด้วยก็เล่นๆ ขำๆ แก้เซ็ง ส่วนฮาร์ดแวร์ ก็ดูความคืบหน้าบ้าง

Posted Image


It Digest : ความรู้สึกกับตำแหน่งมิสทวิตเตอร์

ฉัตรปวีณ์ : คำว่ามิสทวิตเตอร์ทำให้ได้ยินคำว่าเจ้าหญิงแห่งวงการไอทีขมวดกันมา คือ ไม่รู้ว่าอันไหนมาก่อนกัน แต่ถือว่าความรู้สึกที่งง และภูมิใจอย่างแรง งงเพราะปกติเล่นๆ ขำๆ ในออนไลน์มาตั้งนาน และทวิตเตอร์ก็เล่นมาตั้งแต่แรกๆ ตั้งแต่วงการการเมืองยังไม่ปั่นกระแสทวิตเตอร์เท่าไหร่ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าทวิตเตอร์เกิดเพราะวงการการเมืองเล็กน้อย และมีนักการเมืองเล่น แต่จริงๆ แล้วเค้าเล่นกันมาเป็นปีแล้ว ในประเทศไทยกลุ่มแรกๆ เป็นกลุ่มบล็อกเกอร์ กลุ่มพวกคนเล่นเว็บต่างๆ ชอบใช้มาสื่อสารกัน ก็แนะนำให้เล่น ตอนงาน เวิร์ดแคมป์ ก็บอกให้เล่น ก็สมัคร และเข้าไปอัพเดทเรื่อยๆ หลังจากมีกระแสทวิตเตอร์ก็มีแฟนคลับเข้ามาโพสต์ จึงเล่นหน่อยแล้วบอกว่าอย่าลืมมาโหวต แล้วก็มีเข้ามาโหวตกันจริงจังมาก ตีสองตีสาม จนชนะระดับประเทศ ระดับโลก และตลกมาก คือ ชนะ ไมรี่ ไซรัส ที่มีผู้ติดตามเป็นล้านราย ก็เป็นอะไรที่คาดไม่ถึงมาแบบไม่ต้องไปเดินประกวด

It Digest : แนะนำแก็ตเจ็ททางเลือกในช่วงปีใหม่

ฉัตรปวีณ์ : โดยส่วนตัว รู้สึกว่า ปี 2553 น่าจะเป็นอะไรที่สามารถเชื่อมโยงได้กับ 3จี ในประเทศไทยเพราะสำหรับคนไทยยังไม่รู้จักกันมาก แต่ว่าจริงๆ แล้วถ้า 3จี มาจะมีของอื่นๆ ที่พ่วงมาอีก เช่น กล้องวงจรปิด ที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือเป็นรีโมทคอนโทรล โทรไปสั่งออนไลน์ให้แอร์ที่บ้านเปิดตลอด 24 องศา นอกจกานี้ ยังมองว่าโลกเทคโนโลยีเป็นโลกเสมือน ยังรู้สึกว่าต้องมีกิจกรรมอะไรบางอย่างทำคนยังรู้สึกว่าอยู่บ้านแล้วอยากช็อปปิ้ง ผู้หญิงก็ยังอยากรู้สึกว่า ได้ลองเสื้อให้เห็นแต่ก็ยังอยากรู้สึกว่าอยากจะไปจับดูก่อนแล้วใส่ดูก่อนจริงๆ อาจจะไม่เข้ากับตัวเองก็ได้ คือมันยังแทนกันไม่ได้โดยสมบูรณ์ อาจจะทำให้แค่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตสมบูรณ์ขึ้น เช่น มีระบบ 3จีในมือถือ มีตัวติดตั้งอยู่ที่บ้านเป็นกล้องวงจรปิด แล้วสั่งให้ถ่ายๆ คนในบ้าน หรือเป็นหุ่นยนต์เดินรอบบ้านได้ ให้เชื่อมโยงออนไลน์ได้อาจจะเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจกว่า แต่หลายๆ เช่น เรื่องของไลฟ์สไตล์คนบอกได้ยากมากความรู้สึกก็แทนกันไม่ได้ เหมือนกับถามว่าอีบุ๊ค กับหนังสือแทนกันไม่ได้หรอก เพราะว่าความรู้สึกส่วนตัว คือ อีบุ๊คราคามันใกล้เคียงกับหนังสือ ซื้อหนังสือ 10 เล่ม เท่ากับอีบุ๊ค 1 เล่ม สามารถไปโหลดกันได้ แต่จริงๆ แล้วยังอยากซื้อหนังสือ คนเขียนเป็นคนที่ชอบ ก็อยากเห็นทุกอย่างเกี่ยวกับหนังสือ และได้สะสม อีกอย่าง ถ้าอยู่บนเครื่องบินก็ไม่สามารถใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ได้ ของบางอย่างมันเป็นเรื่องของวิจารณญาณในการนำเสนอมากกว่าว่าคนรุ่นใหม่พยายามจะบอกว่าเทคโนโลยีดี แต่ต้องเลือกใช้

It Digest : มุมมองเรื่อง 3จี คนไทยจะได้รับประโยชน์อะไรขนาดไหน

ฉัตรปวีณ์ : ตามเรื่อง 3จีมานานแล้วตั้งแต่ก่อนที่จะคุยเป็นประเด็นร้อน และก็เคยตามไปจนถึงโครงการที่มีทางเหนือแล้วด้วย ความรู้สึกว่าดีแน่นอน ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนไทยจะไม่ได้อะไรดีมากๆ เป็นอะไรที่จะต้องมีหวังมากว่าถ้าออกมาแล้วทุกคนจะได้เข้าถึงเท่าๆ กันโดยที่ราคาไม่แพงจนเกินไป ตอนนี้โมเดลของการวางแผน 3 จีบางคนยังไม่เข้าใจการทำธุรกิจแบบ 3 จีควรจะทำตรงไหน ความรู้สึกในฐานะผู้ใช้ก็ดึง 3จี รับทุกคนว่า 3จี คือโทรศัพท์ที่เห็นหน้ากันหรอ แต่ไม่ใช่เรื่องนั้นแต่เป็นความเร็ว ที่บางคนบอกว่า 3จีเร็วกว่าไฮสปีดอินเทอร์เน็ตที่บ้านและที่ทำงาน โหลด เพลง คลิป ได้เร็ว และก็จะมีเรื่องของแผนที่ จะทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปเลยเมื่อมี 3จี เช่น เดินทางที่ไกลไปที่ไกลๆ แล้วรถเสีย ก่อนหน้านี้อยู่ตรงไหน จะอธิบายทางกับคนอย่างไรให้คนที่จะมาช่วยรู้เรื่อง ถ้าถ่ายภาพตรงนั้นก็จะสามารถระบุพิกัดว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน แล้วก็ส่งไปให้คนที่จะมาช่วยเหลือโดยมีโปรแกรมติดตั้งคล้ายๆ กัน เชื่อว่าระบบ 3จี จะค่อยๆ มาพร้อมกับการเรียนรู้ของคน โดยตอนนี้คนไทยยังต้องเรียนรู้ในเรื่องของ 3จีอยู่พอสมควร แต่ที่น่าสนใจมากที่สุดคงเป็นเรื่องของแผนที่ ก็จะมีการเอามาประยุกต์หลายๆอย่าง

Posted Image

It Digest : โดยส่วนตัวได้ใช้ 3จีบ้างหรือยัง

ฉัตรปวีณ์ : ได้ลองใช้แล้ว ถือว่าตื่นตาตื่นใจพอสมควร เมื่อได้จับแล้วไม่รู้ว่าจะทำอะไรกับมันดี รู้สึกตื่นเต้น หลายๆอย่างมีแต่เพื่อนๆ ยังไม่มีแล้วจะไปเล่นกับใคร คือมีก็เล่นได้อยู่คนเดียว ก็แค่อัพเว็บ หาข้อมูล โหลดไฟล์ขึ้นเว็บ ทำรายการทีวีก็โหลดไฟล์ขึ้นเว็บ ถ้ามีเป็นกลุ่มที่ได้ใช้เหมือนกันคิดว่าคงดีกว่านี้ ในโลกนี้ก็จะเปลี่ยนไปเลยถ้าทุกคนใช้ 3จี ทุกคนจะมีพอร์ตสิ่งที่ทำอยู่ตลอดเวลา ทุกคนจะรู้ว่าใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่ ถึงตอนนี้ยังไม่มี 3จี แต่คนในคอมมิวนิตี้ก็เอาโทรศัพท์มาออนไลน์ตลอดเวลา ถ้าใช้เฟซบุ๊คจะรู้เลยว่าเพื่อนคนนี้จะเดินทางไปที่ไหน ใครอยู่ใกล้กันบ้าง สามารถพิกัดได้เลย ส่วนด้านมืดของ 3จี ต้องระวัง คือไม่ได้ออนไลน์บอกพิกัดตัวเองว่าอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าขับรถไปต่างจังหวัดแล้วหลงทาง คือเป็นเรื่องของวิจาณญานในการใช้ชีวิตกับโลกเทคโนโลยีคือไม่จำเป็นที่ต้องใช้ทุกอย่างที่มีบนโลกนี้แล้วคิดว่าดี อย่างผู้หญิงหลายๆ คนจะบอกว่าตัวเองอยู่ที่ไหนตลอดเวลาก็ไม่ได้ เพราะว่าไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดบ้าง ยิ่งผู้หญิงที่เป็นบุคคลสาธารณะมันก็ไม่ใช่

It Digest : มุมมองต่อเทคโนโลยีในปี 2553

ฉัตรปวีณ์ : ต้นปี 2553 จะมีไปงานเทคโนโลยีใหญ่ 2 งานในโลก คืองาน CES 2010 ที่ลาสเวกัส และก็ซีบิตที่เยอรมัน คือไปถ่ายรายการก็คิดว่ามีเทคโนโลยีหลายๆ อย่างที่น่าจะจับตามอง เพราะว่ายังมีอื่นๆ ที่เป็นเรื่องของเทคโนโลยี เช่น พลังงานทดแทน เพราะจะมีการแข่งผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนทั่วโลก ผลิตแล้วก็ต้องสามารถออกขายได้จริงด้วย ขณะเดียวกัน อาจจะผลิตยานเหาะรุ่นใหม่ล่าสุดแล้วก็ได้ และก็มีงานวิจัยอีกหลายส่วนมาก ไม่ว่าจะเพื่อค้าขายอย่างเดียว เพื่อการดูแลบ้านครอบครัว วงการอาหาร มันยังมีสารพัดจะมีไม่สามารถพูดครอบคลุมได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้างแต่ต้องลองไปดู

It Digest : รู้สึกอย่างไรกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ฉัตรปวีณ์ : โดยส่วนตัวเคยไปเป็นผู้ดำเนินรายการงานที่พูดเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ พ.ร.บ.คอมฯ 2550 รู้สึกว่าคนที่มาดูแลตรงนี้มีความตั้งใจมาก คือ มีความตั้งใจที่จะปกป้อง และปิดช่องว่างของโลกออนไลน์ แน่นอนว่าของประเทศไทยจะปิดมุมมืดก็ไม่สามารถทำได้ครบ ต้องมีบางมุมที่เปิดบ้าง ทุกๆ คนที่ทำหน้าที่ก็ทำเต็มที่ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ใช้งานตรงนี้แค่รู้ก็พอว่าทำอะไรอยู่ เป็นสังคมดีๆ หรือจะพูดว่าอย่าเป็นมลภาวะของโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าอยากจะไปแสดงความคิดเห็น ก็ติเพื่อก่อ อย่าไปแย่ง สาบแช่ง เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต

It Digest : ความคิดเห็นกับกระทู้ต่างๆ บนโลกออนไลน์

ฉัตรปวีณ์ : นักวิชาการบอกว่า บางเรื่องที่เขียนเป็นเรื่องให้ความรู้คน เป็นสิ่งดีให้กับมนุษย์ แต่ก็ยังมีคนที่ยังไปเปรี้ยวกับคนอื่นได้อีก หลายๆ คนคิดว่าโลกออนไลน์ไม่เห็นเจ็บปวดตอนนี้ก็เสียความรู้สึกได้ แต่ก็ปล่อยมันเปรี้ยวไปเดี๋ยวมันก็หยุดเปรี้ยวเอง ไปห้ามความคิด ห้ามปากคนไม่ได้ แต่ว่าสิ่งที่ทำได้ คือทำสิ่งดีๆ ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี ก็ไม่ได้มีอะไรแย่ ที่สำคัญคือขอให้เป็นยุคใหม่ๆที่เค้าจะได้เรียนรู้การที่จะไม่เป็นมลภาวะตรงนี้ดีกว่า อย่างบางเว็บตั้งใจทำเพื่อให้คนมาแอดเดสโดยเฉพาะ เพราะว่าจะเป็นอะไรที่ยอดฮิตถ้ามีคนพูดถึง ถ้าเป็นมุมที่ดี มันก็คือมุมดีคนก็ไม่ได้พูดถึงมาก มันก็เลยเป็นประเด็น ความรู้สึกรู้สึกว่าถ้าคนที่มาติ ติแล้วไม่ได้อ่านมันก็เกินไป แต่อ่านแล้วไม่ต้องคิดมากแค่ให้รู้ว่ามีคนรู้สึกแบบนี้ ต้องดูเหตุผลและลักษณะการโพสต์ว่ามันเป็นคำติที่มีจุดที่เสียก็ปรับ เพราะคนก็ต้องผิดพลาดกันได้บ้าง แต่อยู่ที่ว่าครั้งต่อมาจะแก้ไขหรือไม่ ถ้าผิดซ้ำไม่ยอมแก้ไขอันนี้น่าจะติ แต่ว่าถ้าครั้งแรกติแล้วครั้งที่สองอาจจะดี

Posted Image


It Digest : ใครเป็นไอดอลของซี

ฉัตรปวีณ์ : ถ้าเป็นเรื่องของแก็ตเจ็ทต้องยกให้ สตีฟ จ๊อบส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ บริษัท แอปเปิล อิงค์ เพราะว่าไม่ได้เป็นแค่คนไอทีที่รู้สึกว่าเก่ง ที่ประดิษฐ์ของแต่เป็นนักบริหารที่สมองเฉียบแหลมสุดยอดมาก เขาเป็นเจ้าพ่อแก็ตเจ็ทที่รู้จักใช้คน และทุกๆ อย่างขึ้นอยู่กับการทำตัวด้วย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับไอเดีย และความสามารถอย่างเดียว

It Digest : ฝากถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์

ฉัตรปวีณ์ : ต้องขอขอบคุณไทยรัฐออนไลน์ที่สนใจ และฝากเว็บไซต์ ซีมีอะเกนดอทคอม (www.ceemeagain.com) ด้วย เพราะว่าสิ่งที่รู้สึกมีความสุขที่สุดคือ การที่คนเข้ามาดูเยอะๆ ทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่ทำไปมันไม่เสีย แล้วถ้าได้ดูแล้วชอบไม่ชอบอย่างไร ก็อยากให้แนะนำ ติชมกันบ้าง รวมถึงอยากให้เข้ามาดู และก็ฝากผลงานต่างๆ ด้วย เพราะผลงานส่วนใหญ่ที่ทำก็ล้วนเป็นผลงานที่รู้สึกมีความสุข ที่ผ่านมางานหลายๆ งานก็ปฏิเสธไปเพื่อที่จะไปทำในส่วนของไอที ต่อไปนี้ก็คิดว่าจะเลือกทำในสิ่งที่อยากทำมากที่สุดคือ จึงอยากจะให้กำลังใจ และติดตามกันต่อไป.



บทความจาก : ไทยรัฐ
วันที่ : 11 มกราคม 2553
0

Page 1 of 1
  • You cannot start a new topic
  • You cannot reply to this topic

1 User(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users